ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > บทความเกี่ยวกับงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่

เครื่องสักการะล้านนา


29 มีนาคม 2567 34

เครื่องสักการะล้านนา

วิถีชีวิตของชาวล้านนามีประเพณีและวัฒนธรรมมากมายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความเคารพบูชา เช่น งานทำบุญ งานขบวนประเพณีต่าง ๆ หรือการรดน้ำดำหัว จึงมี “เครื่องสักการะล้านนา” เข้ามามีบทบาทอยู่เสมอ เครื่องสักการะล้านนาเป็นเครื่องหมายของการแสดงเคารพสูงสุดของชาวล้านนา และแฝงไปด้วยความหมาย ทั้งยังแสดงถึงความคิดที่ลึกซึ้งของชาวล้านนาด้านการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ควรบูชา ด้วยการนำสิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประกอบเป็นเครื่องสักการะที่มีความหมาย เช่น ข้าวตอก ดอกไม้ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความเคารพเทิดทูนต่อธรรมชาติ แสดงถึงพื้นฐานจิตใจที่งดงามของชาวล้านนา

ความหมายของเครื่องสักการะล้านนาทั้ง 5

“หมากสุ่ม” ลักษณะเป็นพุ่ม ทำจากหมากแห้งผ่าซีกแล้วนำมาร้อย เสียบกับโครงไม้ไผ่หรือโครงหยวกกล้วยให้เป็นพุ่ม หมากสุ่ม มีความหมายถึงการทำทานหรือการให้ทานแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

“หมากเบ็ง” ทำจากใบตาลหรือใบมะพร้าวสานเป็นดอกไม้แล้วนำหมากสุก หรือ หมากดิบมาไว้ตรงกลางของดอก เป็นจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดยึดโยงกับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม (ลักษณะการผูกติดกันนี้คนเหนือเรียกว่า เบ็ง) หมากเบ็งหมายถึงการแสดงความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือกันของผู้คนในหมู่บ้าน

“ต้นผึ้ง” หรือ “พุ่มดอกผึ้ง” เป็นการนำเอาขี้ผึ้งมาปั้นเป็นรูปดอกไม้ นำมาตกแต่งเสียบกับก้านทางมะพร้าว แล้วปักลงบนต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ให้เป็นทรงพุ่ม ต้นผึ้งมีความหมายถึงการให้แสงสว่าง ให้เกิดสติปัญญา

“ต้นเทียน” เป็นการนำเอาเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งมาผูกติดกับทางมะพร้าวแล้วเสียบลงบนต้นกล้วย ปักให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม การถวายเทียนนั้นยังปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ในช่วงเข้าพรรษา ที่ถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นการมอบแสงสว่างให้เพื่อใช้ในการท่องหนังสือ

“ต้นดอก” หรือ “ขันดอก” หรือ “ต่อมก่อม” เป็นโครงที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจึงนำดอกไม้ที่ทำจากกระดาษสีเงิน และกระดาษสีทองมาประดับเป็นพุ่มกลมสวยงามในขันหรือภาชนะ ต้นดอกมีความหมายถึงการสักการะถวายพระพรหมทั้ง 4 เพื่อปกปักรักษางานพิธีกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เครื่องสักการะล้านนาทั้ง 5 ประการนี้แสดงให้เห็นถึงความคิดที่ลึกซึ้งของชาวล้านนาที่รู้จักหยิบนำสิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้เกิดความสวยงาม เกิดประโยชน์ และมีความหมาย ซึ่งต้องใช้ความอุตสาหะพยายามในการประดิดประดอยเครื่องสักการะด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนา

ข้อมูล: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่